เมนู

อานาปานสติกถา ในมหาวรรค


1. อรรถกถาคณนวาร


บัดนี้ ถึงลำดับที่จะพรรณนาความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งอานา-
ปานสติกถาที่ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถา.
จริงอยู่ อานาปานสติกถานี้ เป็นสมาธิภาวนาอันทำได้ง่ายเพื่อตรัสรู้
ตามความเป็นจริง แห่งโทษของทิฏฐิที่กล่าวไว้ดีแล้ว ในทิฏฐิกถา แห่งจิต
บริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการชำระมลทินแห่งมิจฉาทิฏฐิ. อนึ่ง ในสมาธิภาวนาทั้งปวง
อานาปานสติกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถาว่าเป็นสมาธิภาวนาและ
เป็นประธาน เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธินี้ ณ
โพธิมูล ของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในอานาปานสติกถานั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โสฬส-
วตฺถุกํ อนาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต สมธิกานิ เทฺว ญาณสตานิ
อุปฺปชฺชนฺติ
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มี
วัตถุ 16 ญาณ 200 อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นการยกขึ้นแสดง
จำนวนญาณ. บทมีอาทิว่า อฏฺฐ ปริปนฺเถ ญาณานิ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย 8 เป็นการชี้แจงจำนวนญาณ. บทต้นว่า กตมานิ อฏฺฐ ปริปนฺเถ
ญาณานิ
ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 เป็นไฉน. บทสุดท้ายว่า อิมานิ
เอกวีสติ วิมุตฺติสุเข ญาณานิ
ญาณในวิมุตติสุข 21 เหล่านี้ เป็นการชี้แจง
ความพิสดารของญาณทั้งปวง. พึงทราบการกำหนดบาลีก่อนอย่างนี้ว่า บทมี